วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 ซอฟแวร์


ความหมายของซอฟต์แวร์

      การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
       ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
      ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
       ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

ชนิดของซอฟต์แวร์ 

   


ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์
เหล่านี้อาจได้รับ การพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิด
ของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงานพอแบ่งแยก ซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System software)
และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
         1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ
คือดำเนินงาน พื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมาย
ให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผล บนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล
บนหน่วยความจำรองเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์
จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้ เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้
ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือ
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่
DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น
        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์
จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น
ใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบัน มีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ

 1. ซอฟต์แวร์ระบบ 
       คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดระบบ เพื่อใช้ในการจัดระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
          1.1 ใช้ในการจัดหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทาง
จอภาพหรือ เครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า ละส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
          1.2 ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูล จากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
          1.3 ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสาระบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

          ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ตัวแปลภาษา และโปรแกรมยูทิลิตี้ ซอฟต์แวร์ทั้งสามประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
            1. ระบบปฏิบัติการ
                ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียนย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาก และเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
                  1.1 ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบที่พัฒนามานานแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดี
ในหมู่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
                  1.2 วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถ ใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
                  1.3 โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
                  1.4 ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั่งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถ ใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งาน ในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน                
                  ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกัน เป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์วินโดว์เอ็นที การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะตัว
ประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การและงบประมาณที่มี
            2. ตัวแปลภาษา
                ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็น
ภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจ
ได้ง่ายตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา
สำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบันเช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก
                  2.1 ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็น
กระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
                  2.2 ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
                  2.3 ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสมใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้าง
คล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
                  2.4 ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโก
ได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
                 นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
            3. โปรแกรมยูทิลิตี้ ( Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ให้บริการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล
ตามหลักใดหลักหนึ่ง รวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับส่งอย่างหนึ่งไปยังอีก
อุปกรณ์หนึ่ง ประกอบด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ได้แก่ Editor, Debugging, Copy
 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
    การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการ
ใช้งาน คล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวกการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ ์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น
หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
          2.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จ
                ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Package ) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยม
ใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง
ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ( word processing software ) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ( spread sheet software ) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ( data base management software ) ซอฟต์แวร์นำเสนอ ( presentation software ) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ( data communication software )
                 2.1.1 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสารสามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ
และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้
การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำ                      ที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
                 2.1.2 ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์
์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ
และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความ หรือสูตร สามารถสั่งให้
คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ
ได้กว้างขวางซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
                 2.1.3 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูล
ที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
ไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลทีนิยมใช้ เช่น เอกเซล ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
                 2.1.4 ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูด
ความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้าง
แผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
                 2.1.5 ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้                
เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่ง
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหา
มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์
เช่น โปรคอม ครอสทอล์คเทลิก
           2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
                 การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงาน
ทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงาน
การขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงาน
แต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
                  ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการ
ของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
ที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมบริหารการเงิน
และการเช่าซื้อ ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงยังมีความต้องการผู้พัฒนา
ซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
    สรุปได้ว่า ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
      ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ
คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
         1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft Windows
         2. โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือยูทิลิตี้ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่าง
การประมวลผลข้อมูล หรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร
์ ( Editor)
         3. โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในรูปแบบที่
เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้
สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
         1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไปและประยุกต์ใช้งานอื่น เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป
ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management Hypertext,
Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น
        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของ
การนำไปใช้
การใช้  Software ร่วมกัน

             Software ทีใช้งานบนระบบ Network แบ่งออกเป็น Software Packages และ Data เมื่อใช้ระบบ Network จะสามารถที่จะนำเอา Software ทั้ง 2 ชนิด มาใช้งานร่วมกันได้
            ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ทาง Software ถ้ามี เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่องใช้งานแยกกันอยู่ ก็จำเป็นที่จะต้องซื้อ Software ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย มาใช้งาน นั่นคือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง รวมทั้งยังต้องคอยระวังในเรื่องของการ Copy Software มาใช้งานเองของ User แต่ละคนด้วย การนำระบบ Network มาใช้งาน จะช่วยลด ปัญหาของการทำผิดกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ได้ นอกจานนั้น Software ที่ใช้งานระบบ Network จะมีความคล่องตัวกว่า Software บน เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการ Maintain หรือการซ๋อมบำรุงปรับปรุง Software ให้ถูกต้อง เช่น มีรุ่นที่ Update มาใหม่ จะสามารถติดตั้งและ Upgrade software ทั้ง 10 เครื่อง ซึ่งเสียเวลามาก

           นอกจากนั้นกรณีที่ใช้ Workstation ประเภท Diskless Workstation User จะไม่มีสิทธิ์ในการใช้งานแผ่น Disk เลย ทำให้สามารถขจัดปัญหาของ Virus ที่สามารถ จะแพร่ระบาดอยู่ได้ รวมทั้งการตรวจสอบ Virus ก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC)แต่ละเครื่อง แต่ตรวจสอบที่ File Sever เพียงเครื่องเดียว ทำให้ประหยัดเวลา และการทำงานที่คล่องตัว มากขึ้น

           สำหรับเครื่อง License หรือลิขสิทธิ์นั้น Software ที่จะนำมาใช้งานบนระบบ Network จะต้องเป็น Software รุ่น Netware เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมี License Software สำหรับระบบ Network อยู่ 2 แบบ คือ

           concurrent User License หมายถึง Software ที่ระบุจำนวน User ที่สามารถใช้งาน ได้สูงสุดบนระบบ Network เช่น แบบ 20 Copy นั่นหมายถึง User สามารถใช้งาน Software ตัวนี้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 20 คน
          Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใด แต่ในการทำงานจริง ๆ แล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
          Share Data ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอน สำหรับการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แยกกันก็คือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของ คอมพิวเตอร์ (PC) เครื่องหนึ่ง จะต้อง Copy ลงในแผ่น Disk แล้วนำไปเรียกใช้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่ หรือต้องการข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copy ข้อมูลมาก ถ้านำระบบ Network มาใช้งานข้อมูล User แต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกันก็คือ Harddisk ของ File Server ดังนั้น User แต่ละคนจะสามารถใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับการกำหนดสิทธิ์ในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งจะสามารถกำหนดไว้ว่า User คนโดดจะสามารถใช้งานข้อมูลใดได้ถึงระดับใดบ้าง
           จากประโยชน์การใช้ Software ร่วมกันนี้ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ที่ File Server ข้อมูลจึงถูกต้อง ทันสมัยและรวดเร็ว เป็นการควบคุมข้อมูลที่จุดศูนย์กลาง โดยแต่ละ Workstation สามารถ ใช้ข้อมูลของ Workstation อื่นใดทันทีถ้ามีสิทธิ์ โดย ไม่ต้องรีรอจึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (Flexible) นอกจากนั้น ยังลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและลดเวลาในการทำงาน คือ แทนที่จะ ต้องเสียเวลาในการรอข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะทำงานต่อไป ก็ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและลด ความ ผิดพลาด ที่เกิดจากข้อมูลไม่ถูกต้องทันสมัย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น